The Map Ta Phut Industrial Estate in Rayong Province has been set up for more than 4 decades as a key engine under the 5th National Economic and Social Development Plan to drive Thailand’s economic development and become a country that is based on industrial production, both heavy and light, it was considered as one … Continue reading People’s lessons learned from the “Map Ta Phut” Industrial Estate, the elder twin of the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone Project.
Category: Special Economic Zone
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร กว่า 4 ทศวรรษที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ถูกจัดตั้งขึ้นในฐานะตัวจักรสำคัญภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่เน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมหนักและเบา ซึ่งนับว่าเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขจีดีพีของไทยมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น และในอีก 30 ปี หลังจากที่มันถูกจัดตั้งขึ้นจากการผลักดันของภาครัฐ มันก็ได้กลายเป็นต้นแบบที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา หลังจากที่เมียนมาเปิดประเทศและทางรัฐบาลเมียนมาออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี (2554 - 2574) ในปี 2553 และกฎหมายการลงทุนต่างชาติในปี 2555 ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคการค้าและการลงทุน และกาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนภายในประเทศ โดยมีตัวจักรสำคัญคือโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ หนึ่งในนั้นคือ โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่มีขนาดใหญ่กว่าถึง 8 เท่า ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากถนทวาย หนึ่งในโครงการ 3 โครงการสำคัญ (ได้แก่ 1) โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม 2) โครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และ 3) โครงการถนนเชื่อมต่อ) … Continue reading ถอดบทเรียนฉบับประชาชน จาก “มาบตาพุด” นิคมอุตสาหกรรมแฝดพี่ของโครงการทวาย
story and photos by Teerachai Sanjaroenkijthaworn “Dawei Road Link” is one of the many sub-projects of Dawei Special Economic Zone (Dawei SEZ) which would open up Southeast Asia for foreign investment and industrial development at a scale never has been done before in the region. The aim is to attract foreign investors from outside … Continue reading “Giant Serpent” bites the way of life and people: Dawei Road Link and the change of the affected community
เรื่องและภาพโดย ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร "ถนนทวาย" หรือ ถนนเชื่อมต่อโครงการทวาย เป็นหนึ่งในโครงการย่อยของโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะเปิดม่านของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคแม่น้ำโขงด้านตะวันตกสุดออกสู่สายตาชาวโลก โดยเฉพาะนักลงทุนได้เข้ามาจับจ้องใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า บริการ และผู้ตนจากท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่จะถูกจัดตั้งเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหึมาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ ไปยังด้านตะวันนออกสุดที่ประเทศเวียดนามด้านใต้ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและส่วนที่ใกล้เคียงกันในหลายเส้นทางของเส้นสมมติที่ถูกขีดขึ้นและเรียกขานโดยสถาบันธนาคารระดับอย่างธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียว่า "ระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้" ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จุดประสงค์ของมัน คือ ย่นย่อระยะทางของการขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามัน ในเมืองทวายประเทศพม่าไปยังทะเลจีนใต้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านช่องแคบสำคัญอย่างช่องแคบมะละกาเพื่อไปแวะพักและถ่ายโอนสินค้า ณ ทาเรือที่ประเทศสิงคโปร์ มีการคาดการณ์กันว่าถนนเส้นนี้จะช่วยสามารถขนส่งสินค้าและบริการจากชายฝั่งทะเลอันดามันไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทยเพียงไม่ถึง 8 ชั่วโมงหากถนนเส้นนี้สร้างเสร็จโดยสมบูรณ์ ถนนทวายนี้มีความยาวทั้งสิ้น 138 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 18+500 จากตัวโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายลัดเลาะพาดผ่านแม่น้ำหลายสาย ภูเขาหลายลูก ถิ่นที่อยู่ของผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และสัตว์ป่า ไปยังชายแดนไทย - พม่า ที่ด่านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ณกิโลเมตรที่ 156+500 ของโครงการ ถนนเส้นนี้มีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมันจะเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงเชื่อมต่อบ้านเก่า - กาญจนบุรี จากนั้นจึงเชื่อมไปยังถนนทางหลวงหมายเลข 81 กาญจนบุรี - บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และเชื่อมต่ออีกทอดหนึ่งไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย … Continue reading Photo Essay: “งูยักษ์”กัดกลืนวิถีชีวิตและผู้คน: ถนนทวายกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ
โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (ต่อไปนี้จะขอเรียกว่า “โครงการทวาย”) เป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ริเริ่มจากรัฐบาลสองประเทศ คือ ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา นับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) ร่วมกัน โดยตกลงที่จะร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งของทั้งสองประเทศโดยเริ่มจากส่วนหัวงานโครงการทวายคือในส่วนท่าเรือน้ำลึกของโครงการฯ ไปยังท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย โดยคาดว่าโครงการจะสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสองประเทศ โดยเมียนมาจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย การลงทุนขนาดใหญ่ขณะที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งด้านตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวายจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงของเส้นทางการค้า การผลิต และการขนส่งที่สำคัญในระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ด้วย (Southern Economic Corridor) โดยมีบริษัทเอกชนไทยคือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งได้รับสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการฯ ตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน 75 ปี ในพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร (กว่า 1.5 แสนไร่ หรือประมาณเกือบ 10 เท่าของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด) รวมทั้งการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงพรมแดนระหว่างไทย-เมียนมา จากพื้นที่โครงการไปยังด่านพุน้ำร้อนที่ จ. กาญจนบุรี ในระยะทาง 138 กิโลเมตร … Continue reading รายงานศึกษาวิจัย “ถนนเชื่อมต่อโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย” : การตรวจสอบธรรมาภิบาลการลงทุนของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ
24 August 2018, 9.30 – 16.00 hr. at The Connecion Seminar Center, Ladprao, Bangkok Introduction: On August 24th, 2018, a forum on “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities” was organized in Bangkok by ETOs Watch (a Thai civil society group) and Social Research Institute (Chulalongkorn University). The term ‘Good Governance Beyond … Continue reading Summary Minutes from the Forum “Developing Good Governance Beyond Borders in ASEAN: Voices from Communities”
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๑ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ออดิทอเรียม The Conecion ๐๙.๓๐ เริ่มด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย: มองอดีต ก่อนเดินหน้า” Thant Zin (ภาคประชาสังคมเมียนมา) ในทวายตอนนี้นอกจากจะมีโรดลิ้งค์แล้วเรายังมีโครงการเหมืองขนาดใหญ่อีกสองแห่งซึ่งไฟฟ้าที่ได้ทั้งหมดจะส่งให้ประเทศไทย และการตั้งเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลักของรัฐบาลก็ส่งผลให้ชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่กะเหรี่ยงต้องถูกแย่งยึดที่ดิน ซึ่งปัจจุบันที่ดินกว่า ๘๐,๐๐๐ เอเคอร์ของชาวบ้านต้องถูกรัฐบาลยึดไป และในพื้นที่ตะนาวศรีซึ่งจะเป็นที่รองรับโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ที่ดินถึง ๑.๘ ล้านเอเคอร์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีตั้งแต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหากจะยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับผลกระทบในทุกๆ ด้านนั่นก็คือโครงการเหมืองแร่เฮงดา ชาวบ้านในพื้นที่ได้พยายามต่อสู้เรียกร้องมาอย่างยาวนาน สิ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ เราได้ยื่นข้อร้องเรียนกรณีโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย จนได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา และยังได้ทำงานร่วมกับ ETO Watch Coalition ในการติดตามประเด็นเงินกู้สร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งสิ่งที่เราจะวางแผนทำต่อไปในอนาคตอันใกล้คือการสร้างความเข้าใจและและผลักดันศักยภาพของภาคประชาชน เช่นที่หมู่บ้านกาโลนท่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านสำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากโครงการต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ และอีกเป้าหมายหนึ่งคือจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ธีรชัย ศาลเจริญกิจถาวร (The Mekong Butterfly) ให้ข้อมูลเรื่องโครงการถนนเชื่อมต่อสองช่องทางและข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมซึ่งจะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาว่า เมื่อ วันที่ ๒๙ … Continue reading รายงานการประชุม “การพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนสู่อาเซียน: เสียงสะท้อนจากชุมชน”