รายงานการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชน และแม่น้ำโขง

จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชนและแม่น้ำโขง จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของทีมชุมชนใน 5 หมู่บ้านของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ หมู่บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร, บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่, บ้านปากลา บ้านคันท่าเกวียน และบ้านตามุย อำเภอโขงเจียม ร่วมกับเครือข่ายคนฮักน้ำของและกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง ในการเก็บข้อมูลทรัพยากรโดยชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนที่ได้พึ่งพาแม่น้ำโขง ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทรัพยากรในแม่น้าโขง ควบคู่ไปกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงจากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้าบนแม่น้ำโขงสายหลักทั้งที่สร้างมาแล้ว และเขื่อนที่มีแผนจะดำเนินการในพื้นที่ของชุมชนคือ เขื่อนบ้านกุ่ม หรือเขื่อนสาละวัน และนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนที่มีการศึกษา ได้แก่ บ้านสำโรง, บ้านดงนา, บ้านปากลา, บ้านคันท่าเกวียน และบ้านตามุย  ระยะเวลาของโครงการศึกษาฯ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2566 โดยใช้กระบวนการ การประชุมกลุ่มย่อย (ประเด็นหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชริมโขง, การจับปลา, การใช้ประโยชน์จากป่า, การท่องเที่ยวชุมชน และการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง), การทำบันทึกการจับปลารายวัน, การทำแผนที่นิเวศย่อย, การสำรวจระบบนิเวศย่อยแม่น้ำโขง, การสำรวจป่าชุมชน, การบันทึกภาพ และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การประเมินผลกระทบจากโครงการเขื่อนที่ผ่านมาและเขื่อนที่กำลังมีการศึกษา ภายใต้โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชนและแม่น้ำโขง จากโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลัก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชน ในการริเริ่มเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลกระทบในด้านต่าง … Continue reading รายงานการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรของชุมชน และแม่น้ำโขง

Compilation of Experiences

Natural Regeneration Process, Ecological and Fishery Resources Restoration of the Mekong Basin Communities  The over-4,800-kilometer Mekong River originates from the Himalayas melting snow in Tibet flowing through steep valleys in Chinaween Laos and Myanmar. The Mekong River then visits Thailand; Laos and Myanmar at Chiang Saen district, known as the Golden Triangle where the lower … Continue reading Compilation of Experiences

โขง ยัง คง: ความทรงจำ วันวาน และประสบการณ์การฟื้นฟูนิเวศของชุมชนลุ่มน้ำโขง

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขงและเครือข่ายผู้สนับสนุนได้ร่วมกันจัดงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือ "โขง ยัง คง: ประมวลประสบการณ์ กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ การฟื้นฟูนิเวศและทรัพยากรประมงของชุมชนลุ่มน้ำโขง" ณ Hope Space วงเวียนใหญ่ เพื่อชวนคนโขงมาพูดคุยถึงความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในจังหวัดติดแม่น้ำโขงประเทศไทย ตั้งแต่ จ.เลย, จ.หนองคาย. จ.บึงกาฬ, จ.นครพนม, จ.มุกดาหาร, จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ที่ใช้ชีวิตอยู่กินและพึ่งพาแม่น้ำโขงมาตลอดชีวิต ในวันที่พวกเขาเห็นการ ยังคง ดำรงอยู่ และเห็นร่องรอยที่แม่น้ำโขงเยียวยาตัวเองขึ้นมาใหม่เพื่อต้านทานความเปลี่ยนแปลงรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกวันจากเขื่อนไฟฟ้า งานเสวนาในครั้งนี้มีตัวแทน 3 คน จากชุมชนแม่น้ำโขงได้มาอธิบายถึงวัฏจักรสามัญธรรมดาที่ธรรมชาติพยายามฟื้นตัวเพื่อหาจุดสมดุลให้กลับมาอีกครั้ง และเล่าถึงการฟื้นฟูนิเวศโดยรอบชุมชนของตัวเองผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในแม่น้ำโขงสายหลัก และในระบบนิเวศย่อยภายใน เช่น หนอง บุ่ง ห้วย ไปจนถึงลำน้ำสาขา โดยหวังว่าจะสามารถรักษาและนำความอุดมสมบูรณ์กลับมาอีกครั้ง ทั้งพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืช ซึ่งผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย 1. ชาญณรงค์ วงศ์ลา จาก จ.เลย 2. อำนาจ ไตรจักร์ จาก … Continue reading โขง ยัง คง: ความทรงจำ วันวาน และประสบการณ์การฟื้นฟูนิเวศของชุมชนลุ่มน้ำโขง

“กสม. ตรวจสอบข้อกังวลเขื่อนสานะคาม หลัง ETOs Watch ร้องเรียน – ด้านชุมชนและหน่วยงานภาครัฐกังวลผลกระทบ หวั่นเขตแดนเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวถูกทำลาย”

ช่วงระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นำโดยศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้านสิทธิชุมชนและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบข้ามพรมแดนจากโครงการเขื่อนสานะคาม และโครงการเกี่ยวเนื่องทั้งในบริเวณแม่น้ำโขงสายหลัก เช่น เขื่อนปากชม/ผามอง บริเวณพรมแดนไทย-ลาว ช่วงบริเวณหมู่บ้านคกเว้า อ.ปากชม และโครงการในลำน้ำสาขาบนแม่น้ำเลย บริเวณประตูระบายน้ำศรีสองรัก จ.เลย ตามข้อร้องเรียนของคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน( ETO) และเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ที่มีการร้องเรียนไปเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในวันที่ 11 ตุลาคม ทาง กสม. พร้อมด้วยผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่รับฟังข้อห่วงกังวลจากชุมชนที่จะได้รับผลกระทบทั้งสามพื้นที่ และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กสม. ร่วมกับคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition) ในฐานะผู้ร้องเรียนได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรแม่น้ำโขงแห่งชาติ (สทนช.) กรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ … Continue reading “กสม. ตรวจสอบข้อกังวลเขื่อนสานะคาม หลัง ETOs Watch ร้องเรียน – ด้านชุมชนและหน่วยงานภาครัฐกังวลผลกระทบ หวั่นเขตแดนเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวถูกทำลาย”

ชวนอ่านหนังสือ “รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เล่ม 2”

เข้าสู่ปีที่ 6 แล้วที่ทางคณะทำงานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดน หรือ Extra - Territorial Obligation Watch Coalition หรือ ETOs Watch Coalition นับตั้งแต่ธันวาคม 2559 ที่ทางเครือข่ายซึ่งเกิดจากการรวมตัวขององค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม จำนวน 5 องค์กร ได้แก่ เสมสิกขาลัย กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง องค์กรแม่น้ำนานาชาติ Earth Rights International (ERI) และมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน การจัดทำรายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบต่อชุมชนฉบับนี้ มีขอบเขตเนื้อหาไม่เกินเดือนพฤษภาคม  2566 โดยจะให้ความสำคัญในแง่ของเนื้อหาเกี่ยวกับความคืบหน้าและพัฒนาการของโครงการต่าง ๆ ที่ทางคณะทำงานได้ทำงาน ติดตาม ตรวจสอบ อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงเน้นเฉพาะกรณีศึกษาหรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลและอาจส่งผลกระทบหรือมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือเรียกอย่างเข้าใจง่ายคือ กลุ่ม CLMV ทั้งหมด 21 กรณีศึกษา โดยสามารถแบ่งตามประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ได้ดังต่อไปนี้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 8 … Continue reading ชวนอ่านหนังสือ “รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ: ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เล่ม 2”

ACSC/APF2023 เรียกร้องอาเซียนประกาศตัดความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารพม่า – สิงคโปร์และไทยต้องไม่สนับสนุนด้านอาวุธและเงินทุนแก่กองทัพผ่านการทำธุรกิจ

"เวที ACSC/APF2023 และภาคประชาชนอาเซียนประณามเผด็จการทหารเป็นองค์กรก่อการร้าย เรียกร้องสิงคโปร์และไทยตัดความเกี่ยวข้องทางอาวุธกับทหารพม่าและหยุดจ่ายเงินสนับสนุนผ่านโครงการลงทุน พร้อมสนับสนุนการปฏิวัติของประชาชนและเร่งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม - ด้านผู้นำอาเซียนยังคงเดินหน้าทำตามฉันทามติ 5 ข้อ" จบไปแล้วสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEN Summit ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย. นับเป็นการประชุมครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยภายในปีนี้มีการจัดการประชุมถึงสองครั้ง โดยในครั้งแรกจัดขึ้นไปเมื่อเดือนพฤษภาคมโดยมีประเด็นสำคัญคือการหาทางออกจากวิกฤตเมียนมา และการหาช่องทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยยึดหลักฉันทามติ 5 ข้อ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารไม่นานนัก ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนยังคงเน้นไปที่การพูดคุย ถกเถียง และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความมั่นคงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคอย่างวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมาอันเกิดจากการปราบปรามประชาชนชาวเมียนมาอย่างรุนแรงจนทำให้ประชาขนเมียนมาต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตนเองนับล้านคน กลายเป็นผู้ลี้ภัยเพิ่มเติมอีกกว่าหลายแสนราย ผู้คนนับล้านต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศของตนเอง และมากกว่า 4,000 ราย และยังคงถูกคุมขังอยู่อีกกว่าหมื่นราย นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ที่ล่าสุดจีนเพิ่งเผยแพร่แผนที่เขตแดนประเทศของตนใหม่ที่เผยให้เห็นอาณาเขตในความคิดของผู้นำจีนที่รุกล้ำเข้ามายังพื้นที่ที่อยู่ภายในการครอบครองของอินเดียและมาเลเซีย และในอนาคตอาจรวมถึงพื้นที่ทะเลจีนใต้ทั้งหมด ก่อนการประชุม ASEAN Summit ในครั้งนี้จะเริ่มเพียงสองวัน ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในอาเซียนทั้ง 11 ประเทศ (รวมติมอร์เลสเต) ได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมภาคประชาสังคมและเวทีภาคประชาชนอาเซียน หรือ ACSC/APF2023 ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีจัดขึ้นเป็นปีที่ 18 … Continue reading ACSC/APF2023 เรียกร้องอาเซียนประกาศตัดความสัมพันธ์กับเผด็จการทหารพม่า – สิงคโปร์และไทยต้องไม่สนับสนุนด้านอาวุธและเงินทุนแก่กองทัพผ่านการทำธุรกิจ

ไทยเปิดตัวแผน NAP 2 – ด้านทนายสิทธิฯ แนะรัฐจัดตั้งกลไกผลักดันธุรกิจและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งในและข้ามพรมแดน ย้ำอย่ามองประชาชนก่อความวุ่นวาย

ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร เรียบเรียง "กรมคุ้มครองสิทธิฯ เปิดตัวแผน NAP 2 - ด้านภาคประชาชนและทนายสิทธิแนะรัฐและเอกชนจัดตั้งกลไกผลักดันธุรกิจและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งในและข้ามพรมแดน ย้ำอย่ามองประชาชนก่อความวุ่นวาย" เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2566 ณ The Portal Ballroom อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพในงานเปิดตัวและประกาศใช้ "แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570)" มีผู้เข้าร่วมราว 400 คน ทั้งภาครัฐ องค์การมหาชน คณะทูตานุทูต ตัวแทนองค์การระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม ประเทศไทยได้มีการนำหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาใช้ตั้งแต่ปี 2559 โดย UNGP มีหลักการสามเสาหลัก ได้แก่ คุ้มครอง เคารพ และเยียวยา ซึ่งที่ผ่านมาหลังจากที่ได้มีการรับหลักการดังกล่าวแล้วประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน … Continue reading ไทยเปิดตัวแผน NAP 2 – ด้านทนายสิทธิฯ แนะรัฐจัดตั้งกลไกผลักดันธุรกิจและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งในและข้ามพรมแดน ย้ำอย่ามองประชาชนก่อความวุ่นวาย

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam[1] The Pak Beng Dam project will build a hydropower dam that blocks the Mekong River in Laos. It is only 90 kilometers from Kaeng Pha Dai, Wiang Kaen district, Chiang Rai province. Currently, this project only anticipates its last step, the signing of the power … Continue reading Changes in Mekong River’s Water Level from Pak Beng Dam

ยกฟ้อง! คดีบริษัทเหมืองแร่คนไทยในพม่าฟ้องนักข่าวสิ่งแวดล้อม

"ยกฟ้อง! คดีบริษัทเหมืองแร่คนไทยในพม่าฟ้องนักข่าวสิ่งแวดล้อม" ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำพิพากษายกฟ้อง คดีระหว่างบริษัทเหมืองแร่ดีบุกเฮงดาในเมียนมาร์ กับ อดีต บก. สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreenNews จากการรายงานข่าวคำพิพากษาศาลทวายและผลกระทบจากเหมือง วันนี้ (12 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า นายปรัชญ์ รุจิวนารมย์ อดีตบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม หรือกรีนนิวส์ พร้อมด้วย น.ส.เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน และตัวแทนชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปยังศาลจังหวัดนครปฐม เพื่อฟังคำพิพากษาตามการนัดหมายของศาล หลังมีการสืบพยานครั้งสุดท้ายในข่วงระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค. ที่ผ่านมา คดีนี้ มีที่มาจากการที่บริษัท เมียนมาร์ พงษ์พิพัทธ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการเหมืองแร่ จดทะเบียนในประเทศเมียนมาโดยมีผู้ลงทุนเป็นนักธุรกิจชาวไทย เป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้แจ้งความดำเนินคดีต่อ ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ ขณะนั้นเป็น บ.ก.สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ในข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา อันเกี่ยวข้องกับการรายงานข่าวเรื่อง "ศาลพม่าสั่งบริษัทเหมืองแร่ไทยชดใช้ชาวบ้านทวาย 2.4 ล้านบาท เหตุเหมืองดีบุกทำสิ่งแวดล้อมพัง" เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 ซึ่งเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ของทางสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 9.00 … Continue reading ยกฟ้อง! คดีบริษัทเหมืองแร่คนไทยในพม่าฟ้องนักข่าวสิ่งแวดล้อม

ETOs Watch, ERI และเครือข่ายแม่น้ำโขง ร้อง กสม 2 กรณี เร่งตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโครงการโรงไฟฟ้าหงสา – เขื่อนสานะคาม

ETOs Watch, ERI และเครือข่ายแม่น้ำโขง ร้อง กสม 2 กรณี เร่งตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโครงการโรงไฟฟ้าหงสา - เขื่อนสานะคาม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน เวลา 13.00 น. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบของการลงทุนข้ามพรมแดน หรือ ETOs Watch Coalition เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และ Project SEVANA Souteast Asia ได้เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อยื่นจดหมายร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งมีคุณศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิชุมชน เป็นตัวแทนรับเรื่อง โดยทางเครือข่ายได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. ใน 2 กรณี ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าหงสา และ 2) โครงการเขื่อนสานะคาม ทั้งนี้ทางเครือข่ายมีจุดประสงค์เพื่อให้ทาง กสม. ดำเนินการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ที่เกิดขึ้นแล้วและอาจเกิดขึ้นจากการลงทุนข้ามพรมแดนที่มีนักลงทุนหรือภาคธุรกิจไทยเป็นผู้ลงทุนหรือผู้พัฒนาโครงการ ในกรณีโครงการเขื่อนสานะคาม … Continue reading ETOs Watch, ERI และเครือข่ายแม่น้ำโขง ร้อง กสม 2 กรณี เร่งตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโครงการโรงไฟฟ้าหงสา – เขื่อนสานะคาม